ข้ามไปเนื้อหา

พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ พิธีกรรายการโทรทัศน์ และนักจัดรายการวิทยุ เป็นอดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2519

ประวัติ

[แก้]

เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายบ๋วยเลี้ยง และนางงิ้น แซ่อึ้ง จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (2512-2517) โดยสอบได้เป็นที่ 1 ของประเทศในสายศิลป์ ปีการศึกษา 2516 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็นคนเดือนตุลามาก่อน จึงมีเพื่อนที่รู้จักมากมายที่เป็นคนเดือนตุลาเช่นเดียวกัน ทั้งฝ่ายรัฐบาล, ฝ่ายค้าน, และเอ็นจีโอ โดยตอนเรียนอยู่ปี 2 ได้รับเลือกให้เป็นอุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ฝ่ายนอก และได้เข้าไปเป็นกรรมการบริหารของศูนย์กลางประสานงานนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) และเมื่อขึ้นปี 3 ได้ตัดสินใจเข้าลงแข่งขันและได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลงานด้านสื่อ

[แก้]

เป็นผู้ดำเนินรายการวิทยุและโทรทัศน์ และเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท บางกอกมีเดีย เอเยนซี่ จำกัด ผลิตรายการสื่อขนาดเล็ก

  • รายการวิเคราะห์เศรษฐกิจทาง เนชั่นทีวี คือรายการ "ทิศทางเศรษฐกิจ" ประจำทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 14:15 - 14:45 น. โดยจัดร่วมกับ บุลกิจ อำนาจวรประเสริฐ (เคยออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11))
  • เคยจัดรายการวิทยุ "ข่าวเด่น ประเด็นร้อน" ประจำทุกเย็นวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.00 - 19.00 น. ทางคลื่นความคิด FM. 96.5 MHz ของ อสมท. โดยจัดร่วมกับ พัชระ สารพิมพา
  • จัดรายการวิทยุ "2 มุมข่าว" ประจำวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 19.00 - 21.00 น. ทางคลื่นข่าว FM. 100.5 MHz ของ อสมท. โดยจัดร่วมกับ พัชระ สารพิมพา
  • รายการโทรทัศน์ทาง ASTV ช่อง 5 สุวรรณภูมิ ชื่อรายการ "ข่าวร้อน เย็นนี้" เป็นประจำทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.00 - 18.30 น.
  • รายการ "โกปิ๊เตี่ยม" ทางสถานี TTV ช่อง MV2 เวลา 07.00 - 08.00 น. โดยเป็นพิธีกรในวันอาทิตย์
  • งานด้านหนังสือพิมพ์ เคยเป็นคอลัมนิสต์ ทิศทางเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยไฟแนนเชียล สื่อธุรกิจ และข่าวหุ้น

คณะกรรมการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์

[แก้]

นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ เคยเป็นผู้สมัคร กทช. (คณะกรรมการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์) และได้รับคัดเลือกมาเป็นลำดับที่หนึ่ง ด้วยคะแนนถึง 151 คะแนน จากวุฒิสภา ก่อนที่คณะกรรมการชุดนี้จะถูกยกเลิกไปเนื่องจากเหตุรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และเป็นผู้ที่มีบทบาทเรียกร้องให้บรรจุพุทธศาสนาไว้เป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย เสียจนต้องร้องไห้ออกมาในการประชุม[1]

ปัจจุบันได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 2 กรุงเทพมหานคร คู่กับ นางสาวสุภาภรณ์ แสงทอง อดีตนักแสดง กับ ดร.อายุทธ์ จิรชัยประวิตร นักวิชาการ ในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกทั้ง 3 คน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""พิเชียร" ร่ำไห้เผยถูกกดดันหนัก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๗, ๗ มกราคม ๒๕๕๑